วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงกบ



เนื่องจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีอัตราประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นๆ และ
ปริมาณความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้นติดตามมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันที่
ทรัพยากรธรรมชาติหรือแม้แต่ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลงเป็นไปในลักษณะผกผัน โดย
เฉพาะอาชีพเกษตรกรรมของพี่น้องเกษตรกรที่ต้องอาศัยความชุ่มชื้นจากธรรมชาติถึง 75%
นอกจากนั้นแล้วยังต้องพบกับความผิดหวังเมื่อจํ าหน่ายผลผลิตไม่ได้ราคา หรือถูกพ่อค้า
คนกลางกดราคารับซื้อ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุที่ทํ าให้เกษตรกรต้องขวนขวาย
หาแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การขุดบ่อเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ
ฯลฯ แต่สํ าหรับการเลี้ยงกบนั้น ปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจแก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ
กบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจํ าหน่ายได้ราคาคุ้ม
กับการลงทุนและแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคตนั้น กบเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สเปน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ สํ าหรับผู้เลี้ยงกบหากหลีกเลี่ยงช่วงที่มีการจับกบในแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลดปัญหาด้านราคาตกตํ่ า แต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทํ าให้แหล่งที่อยู่อาศัยเลี้ยงตัวตามธรรมชาติของกบลดลง
ดังนั้นแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคต จึงนับได้ว่ามีลู่ทางแจ่มใส ไม่มีปัญหาด้านการจํ าหน่าย
และราคาก็ดีมีผลคุ้มต่อการลงทุน ลงแรง สามารถส่งเป็นสินค้าออกช่วยการขาดดุลให้แก่
ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

ปัจจุบันที่นิยมเลี้ยงกันก็จะมี
1. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
2. การเลี้ยงในบ่อดิน
3. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ชนิดกลม
4. การเลี้ยงในกระชัง

วิธีการทำบ่อเลี้ยง
1. บ่อซีเมนต์
     นิยมใช้เลี้ยงกันทั่วไปทั้งกบนาและกบบูลฟร๊อก มีขนาดตั้งแต่ 2x 2.5x1 ลบ.ม. จนถึง 3x 4x1 ลบ.ม. บ่อกักเก็บน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร มีหลังคาหรือสิ่งคลุมปิดบังแสงสว่างบางส่วนเพื่อทำให้กบไม่ตื่นตกใจง่ายและช่วยในการป้องกันศัตรู บ่อแบบนี้สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในการเลี้ยงเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์ เลี้ยงกบเนื้อและพ่อแม่พันธุ์ การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก ความหนาแน่นที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ คือ 50-80 ตัว /ตารางเมตร กบรุ่นหรือกบเนื้อ คือ 100-120 ตัว/ตารางเมตร และลูกอ๊อด คือ 1,000-1,500 ตัว/ตาราง (ขึ้นอยู่กับขนาดของลูกอ๊อดแต่ละชนิด)

2. บ่อดิน
     ควรทำในลักษณะกึ่งถาวร โดยขุดบ่อลึกไปในดิน 50-70 เซนติเมตร ฝังท่อระบายน้ำก่อขอบบ่อด้วยอิฐบล๊อกสูง 2-3 ก้อน ด้านบนปากบ่อมีตาข่ายคลุมปิดเพื่อป้องกันนก ศัตรูธรรมชาติอื่นๆ และแมลงปอลงวางไข่ บ่อทำได้ในขนาดเดียวกับบ่อซีเมนต์โดยขึ้นอยู่กับสภาพพพื้นที่ของเกษตรกร ปัจจุบันบ่อดินมีความนิยมน้อยลงเนื่องจากมีข้อเสีย คือดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันศัตรูได้ยาก ส่วนข้อดีคือการลงทุนต่ำและบริเวณที่มีอากาศหนาวสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนาข้ามฤดูกาลได้ดีกว่าบ่อซีเมนต์ อาจทำเป็นบ่อพักกบนาชั่วคราว ในกรณีที่ต้องการลดอาหารเพื่อให้กบพักตัวในช่วงฤดูหนาวก่อนไปขาย

3. บ่อซีเมนต์ชนิดกลม
     มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางบ่อเป็น 1.5 เมตร มีความสูงอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และมีฝาปิด บ่อขนาดนี้ใช้ได้ดีในการขยายพันธุ์อนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก ง่ายต่อการคัดขนาด แต่ไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงกบใหญ่เนื่องจากกบจะกระโดดชนผนังและฝาที่ใช้ปิด ทำให้ปากแผลเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ถ้าจะใช้เลี้ยงกบใหญ่ ควรทำบ่อซีเมนต์ให้มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร การใช้ถังซีเมนต์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1.5 เมตร ทำบ่อเลี้ยงกบทำให้กบเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากบ่อมีขนาดเล็กเกินไปทำให้กบแออัด

4. การเลี้ยงในกระชัง
      ในบริเวณพื้นที่ที่มีบ่อน้ำหรือมีสระน้ำขนาดใหญ่หรือมีร่องน้ำไหลผ่านสามารถเลี้ยงกบในกระชังได้ ขนาดของกระชังไม่ควรเล็กกว่า 1 x 2 x 1 ม. หรือใหญ่กว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ที่ลอยกระชังได้
ด้านบนกระชังต้อมีฝาปิดเพื่อป้องกันศัตรู ควรหมั่นตรวจดูรอยรั่วหรือขาดของกระชังอย่างสม่ำเสมอ กระชังสามารถใช้ในการเลี้ยงได้ดีตั้งแต่การอนุบาลลูกอ๊อด ลูกกบเล็กไปจนถึงใหญ่ และเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะในการอนุบาลลูกอ๊อดกบบูลฟร๊อกจะทำให้ลูกอ๊อดโตเร็วและสมบูรณ์

พันธุ์กบที่นํ ามาเลี้ยง
กบที่เหมาะสำหรับจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตาม
วิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโต
เร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3-4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก. ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนํ า
ไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่น ๆ ลักษณะของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่า
กบตัวเมีย และ ส่วนที่เห็นได้ชัดก็คือ กบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คาง
แถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่
ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดัง
กล่าว กบตัวเมียก็ร้องเช่นเดียวกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวเมียที่มีไข่
แก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปรกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมียถึงอย่างไรสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย


                               ความแตกต่างระหว่างกบตัวผู้กับตัวเมีย

การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ เป็นการเลี้ยงที่มีผู้นิยมกันมากในปัจจุบันเพราะดูแลรักษา
ง่าย กบมีความเป็นอยู่ดีและเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการสะดวกสบายต่อผู้เลี้ยงในด้าน
การดูแลรักษา บ่อกบดังกล่าวนี้สร้างด้วยการก่อแผ่นซีเมนต์ หรือที่เรียกว่าแผ่นซีเมนต์บล๊อก
และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบจะหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังนํ้ า คือมีความสูง
จากพื้นเพียง 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับนํ้ า และมีท่อระบายนํ้ าอยู่ตรงส่วนที่ลาดสุด
พื้นที่ ๆ เป็นที่ขังนํ้ านี้ นํ าวัสดุลอยนํ้ า เช่น ไม้กระดาน ขอนไม้ ต้นมะพร้าวทิ้งให้ลอยนํ้ าเพื่อให้
กบขึ้นไปเป็นที่อาศัยอยู่ บางแห่งในส่วนพื้นที่ใต้นํ้ ายังเป็นที่เลี้ยงปลาดุกได้อีก โดยปล่อยปลา
ดุกลงเลี้ยงร่วมกับกบในอัตรา กบ 100 ตัว ต่อ ปลาดุก 20 ตัว ซึ่งเป็นผลดีเมื่อเปรียบเทียบ
เห็นได้ชัดคือ ปลาดุกจะช่วยทำความสะอาดภายในบ่อโดยเก็บเศาอาหารและมูลกบกิน ทำให้
นํ้ าในบ่อสะอาดและอยู่ได้นานกว่าบ่อที่ไม่ได้ปล่อยปลาดุก ซึ่งนอกจากจะเป็นการทุ่นแรงงาน
แล้วยังทํ าให้ผู้เลี้ยงมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย อีกทั้งระยะเวลาเลี้ยง ตลอดจนการจํ าหน่ายกบและ
ปลาดุกอยู่ในเวลาเดียวกัน

การเลี้ยงกบในบ่อดิน ใช้พื้นที่ประมาณ 100-200 ตารางเมตร ภายในคอกเป็นบ่อนํ้ า
ลึกประมาณ 1 เมตร บางแห่งอาจจะทํ าเกาะกลางบ่อเพื่อเป็นที่พักของกบและที่ให้อาหาร
แต่บางแห่งก็ใช้ไม้กระดานทํ าเป็นพื้นลาดลงจากชานบ่อก็ได้ ส่วนพื้นที่รอบ ๆ ขอบบ่อภายใน
ที่ห่างจากรั้วคอกอวนไนลอน กว้าง 1 เมตร ปล่อยให้หญ้าขึ้น หรือบางรายอาจปลูกตะไคร้เพื่อ
ให้กบใช้เป็นที่หลบอาศัยภายในบ่อที่เป็นพื้นน้ำจะมีพวกผักตบชวาหรือพื้ชน้ำอื่นๆให้กบเป็น
ที่หลบซ่อนภัยและอาศัยความร่มเย็นเช่นกัน คอกที่ล้อมรอบด้วยอวนไนลอนนี้ ด้านล่างจะใช้
ถังยางมะตอยผ่าซีก หรือแผ่นสังกะสีฝังลึกลงดินประมาณ 1 ศอก เพื่อป้องกันศัตรูบางชนิด
เช่น หนู ขุดรูลอดเข้าไปทํ าอันตรายกับกบที่อยู่ในบ่อหรือในคอก ส่วนด้านบนของบ่อมุมใดมุม
หนึ่ง จะมุงด้วยทางมะพร้าวเพื่อเป็นร่มเงา และยังใช้เป็นที่ให้อาหารกบอีกด้วย นอกจากนั้น
บางแห่งยังใช้เสื่อรำแพนเก่าๆที่ใช้ทำเป็นฝาบ้านนำมาว่างซ้อนกันโดยมีลำไม้ไผ่สอดกลาง
เพื่อให้เกิดช่องว่างให้กบเข้าไปหลบอาศัย และด้านบนนั้นก็เป็นที่รองรับอาหารที่โยนลงไปให้
กบกินได้เช่นกัน
ลักษณะบ่อเลี้ยงกบเช่นนี้ มีเลี้ยงกันมากที่อํ าเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยใช้พันธุ์
กบที่ซื้อมาจากนักล่ากบในท้องที่ ๆ ออกจับกบตามธรรมชาติ เป็นลูกกบขนาด 20-30 ตัวต่อ
กิโลกรัม ซื้อขายกันในราคา กก.ละ 20-30 บาท และจะนํ าลูกกบที่มีนํ้ าหนักรวม 100 กก.
ปล่อยลงในเนื้อที่ 100 ตารางเมตร หลังจากปล่อยลูกกบแล้ว 2-3 วัน จึงเริ่มให้อาหารเพราะ
เมื่อปล่อยลูกกบลงเลี้ยงใหม่ ๆ ก็ยังเหนื่อยและตื่นต่อสภาพที่อยู่ใหม่ อาหารที่นํ ามาให้ไม่เป็น
ไปตามที่มันเคยกิน คือ เป็นปลาสับหรือปลาบดที่โยนให้กินทีละน้อย ๆ ก่อน จนกว่าลูกกบจะ
เคยชินและเมื่อกบโตขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาหั่นเป็นชิ้น ๆ หรือถ้าเป็นปลาเล็กก็โยนให้ทั้งตัว หรือ
ถ้าเป็นปูนาก็ต้องเด็ดขาเด็ดก้ามทิ้งเสียก่อน หรือถ้าเป็นหอยโข่งก็ทุบเอาเปลือกออกเอาเฉพาะ
เนื้อใน แล้วโยนลงบนแผงที่ให้อาหารในบ่อเพื่อให้กบกินต่อไป

การเลี้ยงกบในกระชัง โดยใช้กระชังเลี้ยงเช่นเดียวกับกระชังเลี้ยงปลามีความกว้างประมาณ
1.50 เมตร และยาว 4 เมตร กระชังดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจากการเพาะพันธุ์กบ คือ เมื่อเพาะ
กบและเลี้ยงลูกอ๊อดจนเป็นกบเต็มวัยแล้วจึงคัดขนาดลูกกบนํ าไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์หรือใน
กระชังอื่น ๆ หรือจํ าหน่าย ส่วนที่เหลือก็เลี้ยงต่อในกระชังต่อไป พื้นที่ใต้กระชังใช้แผ่นกระดาน
หรือแผ่นโฟมสอดด้านล่าง เพื่อให้เกิดส่วนนูนในกระชังและกบได้ขึ้นไปอยู่อาศัยส่วนรอบ ๆ
ภายนอกกระชังใช้วัสดุ เช่น แฝกหญ้าคา หรือทางมะพร้าว เพื่อไม่ให้กบมองเห็นทิวทัศน์นอก
กระชัง มิฉะนั้นกบจะหาหนทางหลบหนีออกโดยกระโดดและชนผืนอวนกระชังเป็นเหตุให้ปาก
เป็นบาดแผลและเจ็บปวดจนกินอาหารไม่ได้ ส่วนด้านบนกระชังก็มีวัสดุพรางแสงให้เช่นกัน

การดูแลรักษา 
 นอกจากจะเอาใจใส่ในเรื่องการให้อาหาร การรักษาความสะอาดภาชนะที่ให้อาหารดังกล่าวแล้ว ในการเลี้ยงกบจะต้องคํ านึงถึงความสะอาด โดยเฉพาะในแอ่งนํ้ าหรือการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ ต้องมีการขัดล้างถ่ายเทนํ้ าในบางครั้งทั้งนี้ถ้าที่อยู่อาศัยของกบสะอาดและมีสุขลักษณะที่ดี ความเป็นอยู่และการเจริญเติบโตของกบก็ดี ลดอัตราการเป็นโรคพยาธิเบียดเบียน แต่กบเป็นสัตว์ที่ตื่น และตกใจง่าย ซึ่งเมื่อเกิดการตกใจดังกล่าวกบจะเกิดอาการชัก เป็นตะคริวและถึงกับช็อกตายได้ หรือเมื่อเกิดตกใจก็จะกระโดดเต้นไปมาในบ่อและจะเกิดอาการกระทบกระแทก เป็นแผลฟกชํ้ าจุกแน่น จุกเสียด เมื่อเป็นมาก ๆ ก็มีโอกาสถึงตายได้เช่นกัน ดังนั้น การทํ าความสะอาดภายในบ่อเลี้ยงกบ
 จึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้
1. งดให้อาหารกบ เพราะถ้ากบกินอาหารแล้วต้องกระโดดเต้นไปมาเพราะตกใจเนื่อง
จากคนลงไปรบกวนที่อยู่อาศัย โอกาสจุกเสียดแน่นถึงตายมีมาก
2. ควรหาวัสดุที่โปร่งเป็นโพรง เช่น ทางมะพร้าวสุมทุมเพื่อให้กบเข้าไปหลบซ่อนตัว
เมอื่ เข้าไปทํ าความสะอาด โดยเฉพาะในบอ่ ซเี มนตเ์ มอื่ ปลอ่ ยน า้ํ เก่าทิ้งจนแห้ง กบจะเข้าไป
หลบตัวในสุมทุมนั้น จะไม่ออกมากระโดดเต้นจนเป็นเหตุให้เจ็บป่วย
3. หลังจากทํ าความสะอาดแล้ว อาหารมือต่อไปควรผสมยาลงไปด้วยทุกครั้งเพื่อ
บรรเทาการอักเสบลงได้ อนึ่ง ลักษณะการงดให้อาหารเช่นนี้จะต้องกระทํ าทุกครั้งที่มีการ
ลํ าเลียงเคลื่อนย้ายกบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือลูกกบก็ตาม ยาที่ผสมในอาหารให้
กบกินนั้นถ้ามีอาการไม่รุนแรงนักก็ใช้ออกซีเตต้าซัยคลิน 1 ช้อนแกง ผสมลงในอาหาร 3 กก.
เช่นกัน ทั้งนี้เพราะตัวยาแรงผิดกันและให้กบกินมื้อเดียวแล้วหยุดไปประมาณ 5-6 วัน (เฉพาะ
อาหารที่ผสมยา) เพื่อสังเกตดูอาการของกบว่าทุเลาลงแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มีอาการดีขึ้นก็ให้
อาหารผสมยาขนาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 1 มื้อ

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมประมงจังหวัดหรืออำเภอของท่านได้ทั้งนี้ก็ขอขอบคุณข้อมูลดีๆนี้จาก สํานักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


3 ความคิดเห็น:

แนะแนวอาชีพ

richcity2.bogspot.com    มีความยินดีที่จะแนะแนวอาชีพให้ผู้ที่สนใจสร้างรายได้ หรืออยากมีรายได้เสริมให้กับตัวเอง  ได้ศึกษาแล...